ประวัติงานวิจัยเบต้ากลูแคน
ประวัติงานวิจัยเบต้ากลูแคน
ประวัติและงานวิจัยเบต้ากลูแคน
จากงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยทางการแพทย์ชั้นนำของโลกหลายสิบแห่งสนับสนุนประสิทธิภาพเบต้ากลูแคน เช่น มหาวิทยาลัยฮาร์วาด, มหาวิทยาลัยทูเลน, มหาวิทยาลับดุ๊ก, มหาวิทยาลัยเคลิฟอเนีย มหาวิทยาลัยหลุยส์วิล, มหาวิทยาลัยวอชิงตัน ฯลฯ พร้อมทั้งยังมีเอกสารทางวิชาการมากกว่า 1000 รายงานที่มีผลการศึกษาค้นคว้า ซึ่งรับรองคุณสมบัติของ เบต้ากลูแคน (Betaglucan)ว่าช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เบต้ากลูแคน ชนิด 1,3/1,6 กูแคน(Beta 1,3/ 1,6 Glucan) มีสรรพคุณต่อต้านเชื้อจุลินทรีย์
ประวัติของเบต้ากลูแคนเริ่มตั้งแต่ คศ. 1940 (พศ.2483) หรือมากกว่า 70 ปีมาแล้ว นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ชื่อ ดร.หลุยส์ พิวลีเมอ (Louis Pillemer Ph.D) ได้ศึกษาตัวยาผสม Crude Mixture ซึ่งมาจากผนังเซลล์ของยีสต์ โปรตีน ไขมัน และแป้ง มีชื่อเรียกวัตถุดิบนี้ว่า ไซโมซาน (Zymosan) และได้รายงานสรรพคุณไว้ว่าเป็นตัวยาที่สามารถ เพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกายอย่างไม่จำเพาะเจาะจงนั่นคือ ต่อต้านเชื้อจุลินทรีย์และสิ่งแปลกปลอมทุกชนิดไม่เลือกหน้า ไม่ว่าจะเป็นไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา และมะเร็ง แต่ในขณะนั้น ดร.พิวลีเมอ ไม่ทราบว่าส่วนใดของยา zymosan ที่ทำให้เกิดคุณสมบัติดังกล่าว ไซโมซานได้ถูกนำมาใช้เป็นยาอย่างแพร่หลายทั่วยุโรป ราคาแพงแต่มีผลข้างเคียงมากเพราะยังไม่บริสุทธิเพียงพอ โปรตีนที่ยีสต์ที่ปนเปื้อนมาด้วยก่อให้เกิดอาการแพ้ Allergy จนคนไข้ส่วนใหญ่ทนยาไม่ได้
ในปีคศ. 1960 (พศ.2503) ดร.นิโคลัส ไดลซิโอ (Nicholas Di-Luzio, Ph.D) จากมหาวิทยาลัยทูเลน Tulane University ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการวิจัยและขยายผลจนพบว่าสาร ซึ่งมีคุณสมบัติกระตุ้นภูมิต้านทานให้เข้มเข็งที่อยู่ในยา ไซโมซาน (Zymosan) นั่นคือ เบต้า 1,3 D กลูแคน (Beta 1,3 D Glucan) ซึ่งเป็นน้ำตาลกลูโคสเชิงเดี่ยว มีโมเลกุลเป็นรูปวงแหวนมาต่อกันเป็นเส้นตรง ยาว ซึ่งเรียกว่า Glucan โดยโมเลกุลในแต่ละห่วงกลูโคสอันดับต้นจับกับห่วงของกลูโคสถัดไปที่ตำแหน่งของคาร์บอน (c) ที่ 1 และที่ 3 จึงเรียก 1,3 กลูแคน การเชื่อมของโมเลกุลน้ำตาลกลูโคสตัวถัดไปกับกลูโคสด้วยกันมีชื่อว่า Glycoside Linkage คำว่าเบต้า (Beta) หมายถึงหางของ Oydroxyl ชี้ขึ้นข้างบนจากแนวจึงได้ชื่อว่าเบต้า 1,3 กลูแคน (Beta 1,3 Glucan) ส่วน D หมายถึง ค่าสัดส่วน Symmetry เมื่อ Ohydroxyl หันไปทางขวาจะเรียกว่า D (มาจากคำว่า Dextro แปลว่าขวา และโปรดสังเกตว่าตัว D จะเป็นตัวใหญ่) ดังนั้นโดยสมบูรณ์ คำว่า เบต้ากลูแคน ซึ่งเป็นกลุ่มน้ำตาลกลูโคสที่มีคุณสมบัติเพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกาย จึงมีชื่อเรียกว่า เบต้า 1,3 ดี กลูแคน (Beta 1,3 D Glucan) เบต้ากลูแคนที่ ดร.ไดลูชิโอ นักวิทยาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยทูเลนได้ค้นพบไม่มีผลด้านลบของ ไซโมซานคือผลข้างเคียงเลย ยกเว้นราคายังแพงมากเหมาะสำหรับงานวิจัยเพียงอย่างเดียว
บทบาทของเบต้ากลูแคนได้จุดกระแสความมีประสิทธิภาพในทางยาขึ้นในปีคศ. 1975 (พศ. 2518) โดยนายแพทย์ ปีเตอร์ แมนเซล (Peter W Mansell MD.) ได้เขียนผลการศึกษาลงในวารสารของสถาบันมะเร็งแห่งชาติสหรัฐอเมริกา โดยอธิบายถึงการฉีดเบต้า 1,3 ดีกลูแคนเข้าไปในก้อนเนื้องอกมะเร็งผิวหนัง (Melanoma) ของคนไข้ 9 คนพบว่าขนาดของเซลมะเร็งหดเล็กลงอย่างรวดเร็วภายในเวลา 5 วันและถ้าเป็นก้อนเล็กๆจะหายไปอย่าสมบูรณ์
หลังจากนายแพทย์แมนเชลได้ประกาศการใช้ เบต้ากลูแคน ชนิด 1,3 ดีกลูแคน (Beta 1,3 D Glucan) รักษามะเร็งผิวหนังนักวิทยาศาสตร์ต่างๆ พากันตื่นตัว มหาลัยที่มีชื่อเสียงหลายแห่งได้ทำการศึกษาวิจัยเพื่อความคืบหน้า เพราะมันเป็นรายงานจาก NCI (National Cancer Institute) คือสถาบันมะเร็งแห่งชาติของอเมริกา ซึ่งเชื่อถือได้การนำไปใช้ทางธุรกิจ
ยังไม่เกิดมีใช้แต่กับงานวิจัย เพราะการสกัดเอาเบต้ากลูแคนออกมาในขณะนั้นยังทำได้ยากต้องใช้เครื่องมือแรงกดสูง เพื่อให้ผนัง เซลล์ยิสต์แตก ราคาจิงแพงมากเกินไป ประกอบกับมะเร็งชนิดที่รักษาได้คิดว่ายังเป็นเพียงมะเร็งผิวหนังเท่านั้น
ในปี 1980 พศ. 2523 เป็นต้นมามีงานวิจัยสำคัญที่ควรนำมากล่าวถึงซึ่งสร้างประกายแห่งความมหัศจรรย์ทางเภสัชวิทยาให้กับเบต้ากลูแคนคือ การศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาร์วาด Havard University โดย ดร.จอยซ์ ซอพ (Joyce K Czop Ph.D)และคณะได้รายงานถึงการค้นพบตำแหน่งบนผิวหนังเยื้อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดขาว เมคโครเฟจ Machrophage ซึ่งจะจับตัวเบต้ากลูแคนได้อย่างแม่นยำและเฉพาะเจาะจงเปรียบเหมือนลูกกุญแจเข้ากันได้ พอดีกับแม่กุญแจ ตำแหน่งดังกล่าวเป็นกลุ่มของโมเลกุลโปรตีนที่สร้างพื้นที่บนผิวของเม็ดโลหิตขาวใหญ่ชื่อเมคโครเฟจ (Macrophage) พื้นที่ดังกล่าวมีขนาด 1-2 ไมครอน โดยมีความเหมาะสมพอดีกับเบต้ากลูแคนซึ่งเรียกว่าตัวรับที่เฉพาะ (Specific Receptor) ที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ Dentin-1 (เดนตินหนึ่ง)
ความน่าทึ่งของระบบภูมิต้านทานของร่างกายก็เพราะตัวรับที่เฉพาะเจาะจงนี้ไม่ได้เกิดขึ้นตอนชีวิตเติบโตแล้ว เพราะมันเกิดขึ้นตั้งแต่เกิด คือ เมื่อไขกระดูกได้เริ่มสร้างเม็ดเลือดขาวขนาดใหญ่ชนิดเมคโครเฟจและอยู่บนโครงสร้างของเซลล์นี้ไปจนวาระสุดท้ายของชีวิต มันมีรูปร่างเฉพาะเจาะจง (Specific Receptor) นับตั้งแต่มนุษย์ได้ถือกำเนิดขึ้น เพื่อให้รอรับแป้งบางชนิด (เบต้ากลูแคน)จากอาหารมาสร้างภูมิคุ้มกันเมื่อร่างกายของมนุษย์ได้รับการบุกรุกจากสิ่งแปลกปลอมภายนอก
หนังสืออ้างอิง: เบต้ากลูแคน ดีที่สุดในโลกที่มนุษย์เคยค้นพบ
20 มิถุนายน 2567
ผู้ชม 45 ครั้ง